วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบของดาบญี่ปุ่น





    หลายท่านอาจจะเคยได้เห็นราคาของดาบญี่ปุ่น แล้วคง "งง" ว่า ทำไมราคามันต่างกัน ผมจะพามาดูส่วนประกอบของ "ดาบ" ครับ
ส่วนประกอบ
1. ส่วนของใบดาบ
1.1 โลหะที่นำมาใช้ทำใบดาบ
1.2 โครงสร้างของใบดาบ
1.3 ประเภทของฮามอน
1.4 ประเภทของการขัดใบดาบ
1.5 ส่วนของปลายดาบ
1.6 ความยาวใบดาบ
2.ส่วนประกอบภายนอก
2.1 Fushi, Kashira, Tsuba, Menuki, Habakiและ Sampa
2.2 เชือกพันด้ามด้าม (Tsuka-Ito) เชือกพันฟัก(Sageo)
2.3 ฝักดาบ (Saya)

จากด้านบนจะเห็นได้ว่าดาบหนึ่งเล่ม จะมีหลายปัจจัยเป็นตัวกำหนดและลำดับต่อมาจะขออธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆว่าใน ดาบที่ ราคาถูกและสูงมีความต่างกันอย่างไรเริ่มจาก
1. ส่วนของใบดาบ
1.1 โลหะที่นำมาใช้ทำใบดาบ โลหะที่ถูกนำมาใช้ในการทำดาบที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเหล็กที่มี คาร์บอนเป็นส่วนประกอบหลัก (carbon steel) กลุ่มต่อมาคือ เหล็กสปริง(spring steel)และกลุ่มสุดท้ายคือเหล็กทามาฮากาเนะ (tamahagane steel)โดยจะขออธิบายดังนี้
กลุ่มแรก เหล็กที่มีส่วนประกอบพวกคาร์บอนเป็นหลัก (carbon steel) เหล็กในกลุ่มนี้จะใช้รหัสที่เห็นกันบ่อยๆคือ AISI แล้วตามด้วยตัวเลข 1045, 1055, 1060, 1075, 1095 และ T-10 โดยที่ตัวอักษร AISI จะเป็นค่ามาตราฐานอุตสหกรรมของสหรัฐอเมริกา ส่วนตัวเลขสองตัวแรกบอกถึงกลุ่มของโลหะว่าเป็นกลุ่มเหล็กคาร์บอน ส่วนตัวเลขสองตัวหลักจะบอกเปอร์เซ็นของคาร์บอนที่อยู่ในเนื้อเหล็ก อย่างเช่น 1045 คือมีปริมาตรคาร์บอนอยู่ในเนื้อเหล็ก 0.45% ของน้ำหนัก 1095 ก็จะมีปริมาตรคาร์บอน0.95% ของน้ำหนักดาบ การแบ่งเกรดเหล็กจะแบบโดยดูค่าเปอร์เซ็นคาร์บอนในเนื้อเหล็ก โดยที่ ต่ำกว่า1045 จะเป็นกลุ่ม low carborช่วง1045จนถึง1059 จะเป็นกลุ่ม medium carbon และตั้งแต่ 1060 ขึ้นไปจะเป็นกลุ่ม high carbon เกรดที่นิยมนำมาทำจะได้แก่กลุ่ม mediumcarbonขึ้นไปเนื่องจากจะสามารถรักษาความคมได้ดี
กลุ่มที่สอง เหล็กสปริง เหล็กกลุ่มที่นิยมนำมาทำใบดาบจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ 5160 กับ 9260 โดยโลหะทั้ง 2 ชนิดจะมีค่าคาร์บอนเท่าๆกันอยู่ที่ 0.60% ของน้ำหนักตัว แต่จะต่างกันที่ 5160 จะมีโครเมียมผสมอยู่ในเนื้อเหล็ก ส่วน 9260 จะมีซิลิก้าผสมอยู่ในเนื้อเหล็ก
กลุ่มที่สาม เหล็กทามาฮากาเนะ (tamahagane steel) เหล็กกลุ่มนี้คือเหล็กที่ถูกนำมาใช้ในการทำดาบในประเทศญี่ปุ่น โดยขั้นตอนการทำจะนำทรายที่มีแร่เหล็กผสมอยู่มาทลุงเพื่อเอาเนื้อเหล็ก ถ้าหากเป็นขั้นตอนในสมัยก่อนจะใช้เวลาในการทลุงนานเกือบหนึ่งอาทิตย์ ส่วนวิธีการแบบใหม่จะใช้เวลาน้อยลงเหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่เนื้อเหล็กจะมีสิ่งเจือปนมากกว่าแบบแรก
1.2 โครงสร้างของใบดาบ ในดาบซามูไรในยุดแรกๆจะประสบปัญหาในเรื่องของการหักง่าย ช่างดาบในสมัยก่อนจึงคิดค้นวิธีที่จะทำอย่างไรเพื่อให้ดาบหักยากขึ้น จึงเกิดการทดลองจากโลหะชนิดเดียวจนถึงนำเหล็กตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปนำมารวมกันไว้ในเล่มเดียว โดยโครงสร้างจะมีดังต่อไปนี้


 ส่วนข้อดีข้อเสียอยู่เกิดความสามารถของผู้เขียนที่จะตัดสินได้ว่าโครงสร้าง แบบไหนดีกว่ากัน แต่ในส่วนตัวดาบที่ทางร้านสั่งจะนิยมสั่งโครงสร้างแบบเหล็กชิ้นเดียว(Maru) แบบตีทบ (Folded steel) และแบบสอดไส้2ชิ้น (Kobuse, Folded Steel+Iron)
   1.3 ประเภทของฮามอนหลายท่านอาจจะยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับฮามอนว่าคือส่วนที่เป็น ลักษณะขุ่นๆที่ปรากฏอยู่บนใบดาบจนถึงคมดาบ ซึ่งจริงๆแล้วฮามอนจะเป็นเพียงรอยแนวชุบแข็งบนใบดาบที่อยู่ระหว่างตรงใบดาบ กับคมดาบ ดังตัวอย่าง


                ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจถึงจุดประสงค์ของฮามอนก่อนว่าจริงๆแล้วถูกสร้างขึ้น มาเพื่ออะไร ฮามอนถูกสร้างมาเพื่อช่วยป้องกันการหักของดาบในตอนทีฟัน ให้ยากขึ้น (แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่หัก) หรือพูดอีกอย่างก็คือการทำให้ดาบมีความเป็นสปริงนั้นเอง แล้วคุณสมบัตินี้เกิดจากอะไร เนื่องจากการชุบแข็งที่ทำรวมกับการพองโคลนจะทำให้เกิดการเย็นตัวที่ต่างกัน จุดที่มีโคลนบางๆพอกอยู่หรือไม่ได้พอกโคลน หลังจากถูกเผาไฟจนได้ทีเมื่อถูกนำมาชุบแข็งโดยการจุ่มน้ำ ส่วนนี้จะสูญเสียความร้อนลดลงเร็วกว่าส่วนที่ถูกโคลนหนาๆพอกไว้ การที่สูญเสียอุณหภูมิอย่างรวดเร็วจะทำให้มวลของเหล็กจับตัวกันแน่นขึ้น ส่วนที่เย็นตัวช้ามวลจะจับตัวกันไม่แน่นนัก ลักษณะอย่างนี้จึงทำให้เกิดอาการคมแข็งและสันอ่อนขึ้นมา
      ฮามอนถ้าแบ่ง ตามประเภทของการทำจะมีอยู่ 2 ประเภทคือ 1. ไม่ได้เกิดจากการพอกโคลนชุบแข็ง 2. เกิดจาการชุบแข็งรวมกับการพองโคลน โดยแต่ละประเภทจะมีขั้นตอนการทำและข้อดีข้อเสียดังนี้
ประเภทที่แรก ไม่ได้เกิดจาการพอกโคลนชุบแข็ง หรือเรียกอีกอย่างว่าฮามอนเทียม เพราะเกิดหลังจากการนำใบดาบไปชุบแข็งแล้ว ขั้นตอนในการทำก็จะเกิดจากการนำไปขัดเพื่อให้เกิดลาย การนำสารเคมีมาทำให้เกิดลายบนใบดาบ ฮามอนลักษณะนี้เมื่อมีการขัดหรือลับดาบลายเหล่านี้ก็จะให้ไป เพราะลายเหล่านี้เกิดขึ้นเพียงแค่บริเวณผิวด้านนอกเท่านั้น ส่วนโลหะที่นิยมทำฮามอนประเภทนี้จะได้แก่ โลหะกลุ่ม Medium carbon เนื่องจากโลหะกลุ่มนี้เมื่อทำการชุบแข็งด้วยการพอกโคลนลายที่เกิดขึ้นจะน้อย หรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ และอีก  
      ประการหนึ่ง คือ ในโลหะกลุ่ม Medium carbon มีการให้ตัวในระดับหนึ่งการหักจึงเกิดขึ้นยาก (นอกเสียจากไปเจอของแข็งจริงๆ) ดังนั้นจึงไม่มีความจับเป็นในการทำฮามอนแบบพอกโคลน ส่วนโลหะกลุ่ม High carbon ทางร้านจะไม่แน่นนำให้ทำฮามอนประเภทนี้ เนื่องจากตัวของกลุ่ม Highcarbon เมื่อทำการชุบแข็งแล้วจะมีความแข็งแบบเปราะ โอกาสที่ดาบจะหักจึงมีสูงมาก ดังนั้นโลหะกลุ่มนี้จึงแนะนำให้ทำฮามอนแท้เท่านั้น

            ประเภทที่สอง ฮามอนที่เกิดจากการพองโคลนชุบแข็ง หรือเรียกอีกอย่างว่าฮามอนแท้ ฮามอนประเภทนี้จะเกิดจากการพออกโคลนแล้วนำไปเผาแล้วชุบแข็ง การชุบแข็งประเภทนี้จะทำให้เกิดลายฝั่งลึกลงไปในเนื้อโลหะเมื่อทำการลับดาบ ลายเหล่านี้ก็จะยังคงอยู่ (แต่ขั้นตอนการลับจะต้องถูกวิธี)


                           จากรูปจะเห็นได้ว่ารอยแนวชุบแข็งหรือฮามอนนั้นมีอยู่ลึกเข้าไปข้างในของใบ ดาบ การทำฮามอนแท้จะนิยมทำกับโลหะกลุ่ม High carbon เนื่องจากกลุ่มนี้มีหลังจากชุบแข็งแล้วเกิดการแข็งเปราะตามนี้ได้กล่าวไว้ใน ข้างต้น ส่วนข้อดีของการทำฮามอนแท้ก็คือดาบจะมีการให้ตัวที่สูงเพื่อป้องกันการหัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าดาบจะไม่พังปัญหาสำหรับท่านที่ไม่มีประสบการณ์หรือ ไม่มีพื้นฐานในการใช้ดาบเมื่อมาใช้ดาบที่ทำฮามอนแท้ก็คือ ดาบจะงอ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นได้ เนื่องจากการทำฮามอนจะทำให้ส่วนคมของดาบมีความแข็งมากและส่วนสันมีความแข็ง น้อยแต่มีการให้ตัวได้ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้เกิดดาบงอได้ง่าย ดังนั้นผู้ที่จะใช้ดาบที่เป็นฮามอนแท้จึงต้องมีประสบการณ์และพื้นฐานการใช้ ดาบซามูไรพอสมควร
      1.4 ประเภทของการขัดใบดาบ จะสังเกตเห็นความแตกต่างของใบดาบที่มีการขัดที่ไม่เหมือนกัน โดยหลักๆแล้วจะมีอยู่ทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้
         1.4.1ขัดใบดาบแบบเนื้อซาติน การขัดลักษณะนี้จะทำทั่วไปกับดาบที่ไม่ได้ทำฮามอนแท้


              1.4.2ขัดเงาแบบระจก การขัดแบบนี้จะเป็นการขัดพื้นฐานในดาบที่ทำฮามอนแท้


                 1.4.3ขัดส่วน Haเงาส่วน, Jihadaขุ่น, shinogijiเงากระจก การขัดแบบนี้จะทำเฉพาะใบดาบที่ทำฮามอนแท้ 


                   1.4.4 ขัดส่วน Haขุ่นJihada เงาเล็กน้อย ShinogiJiเงาแบบกระจก,(Togi Shi) การขัดแบบนี้ถือว่าเป็นแบบที่เหมือนกับใบดาบที่จากญี่ปุ่นมากที่สุด และจะทำเฉพาะดาบที่ทำฮามอนแท้เท่านั้น ซึ่งในใบดาบที่ทำฮามอนเทียมมักจะนิยมขัดให้เหมือนแบบนี้


                     1.5 ส่วนของปลายดาบ (Kissaki)ส่วนที่เกี่ยวกับปลายดาบก็คือเส้น Yokote เส้นนี้จะเป็นจุดที่แยกระหว่างปลายดาบกับใบดาบ โดยเส้นYokoteจะสามารถทำได้ 2 แบบคือ 1. เกิดจากการขัด 2.เกิดจากการลับ





                   1.5.1 เกิดจากการขัด เส้นYokoteลักษณะนี้จะมีขั้นตอนการทำเช่นเดียวกับกับฮามอนเทียม คือจะทำการขัดด้วยเครื่องเจียรเพื่อให้เห็นเป็นแนวเส้นตรง เส้นYokoteลักษณะนี้สามารถสังเกตได้จากผิวของปลายดาบกับใบดาบส่วนอื่นเรียบ เสมอกัน


                   1.5.2 เกิดจากการลับ เส้น Yokoteลักษณะนี้จะทำด้วยการลับเช่นเดียวกับส่วนคมส่วนของดาบเพื่อให้เห็น เป็นแนวเส้นตรง เส้นYokoteลักษณะนี้สามารถสังเกตได้จากผิวของปลายดาบกับใบดาบส่วนอื่นจะมี การหลบมุม



                     1.6 ความยาวของใบดาบ   ในส่วนของความยาวใบดาบที่ส่งผลต่อราคาจะเป็นในกลุ่มของดาบที่สั้นพวกTantoและดาบยาวพวก Tachiและ Nodashiส่วนในกลุ่มของ Katana กับ Wakizashi จะมีราคาที่ต่างกันไม่มากส่วนรูปแบบและขนาดของดาบประเภทต่างๆสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่

    2.ส่วนประกอบภายนอก ด้วยราคาที่ ต่างกันจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้และวิธีการทำ จะขออธิบายดังต่อไปนี้

    2.1 Fushi, Kashira, Tsuba, Menuki, Habakiและ Sampa ชิ้นส่วนเหล่านี้จถูกนำมาใช้ในการประดับด้ามจับ ราคาจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้จะมีตั้งแต่ซิ้งอัลลอย ทองแดง ทองเหล็ก และเหล็ก
ภาพตัวอย่าง











                ในวัสดุที่นำมาใช้ กลุ่มที่ทำจากทองแดง ทองเหลือง และเหล็ก จะมีราคาสูงและมีคุณภาพดีกว่ากลุ่มของซิ้งอัลลอย เนื่องจากมีความทนทานกว่า ปัญหาที่เจอบ่อยที่สุดในกลุ่มของซิ้งอัลลอย คือ เกิดการแตกหัก ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรเลือกส่วนประกอบที่ทำมาจากกลุ่มของทองแดง ทองเหล็ก หรือเหล็ก จึงจะเหมาะสมกับการนำมาใช้งาน

             2.2 เชือกพันด้ามด้าม (Tsuka-Ito) เชือกพันฟัก(Sageo) เชือกที่นำมาใช้ในการทำดาบจะมีตั้งแต่,เชือกฝ้าย,เชือกไหมสังเคราะห์ เชือกไหม และหนังแท้ และอีกส่วนหนึ่งคือการพันเชือกรวมกับกระดาษ Hishi-Gami โดยการพันด้ามร่วมกับการรองกระดาษจะทำให้เชือกที่พันไม่เสียทรง เมื่อใช้ไปเป็นเวลานาน









                    2.3 ฝักดาบ (Saya) ในส่วนนี้ที่เกี่ยวข้องก็คือตรงส่วนปากฝัก ท้ายฝัก และปุ่มร้อยเชือก ที่ถ้าหากเป็นฝักดาบดีๆจะนำเขาควายมาติดลงไปเพื่อให้เกิดความแข็งแรงส่วนในดาบทั่วไปจะทำจากพลาสติกตรงบริเวณปากฝัก ส่วนท้ายฝักและปุ่มร้อยเชือกจะเป็นไม้ และวัสดุอีกอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องคือไม้ที่นำมาทำถ้าหากจะให้เหมือนฝัก ดาบแบบดั่งเดิมฝักจะต้องทำด้วยไม้จำพวกไม้จำปา ซึ่งไม้เหล่านี้จะไม่มีเสี้ยนไม้ลอยขึ้นมาเหมือนกับไม้ตระกูลอื่นๆ
     



                    ภาพบน;ปากฝักครอบด้วยพลาสติก
                    ภาพล่าง:ปากฝักครอบด้วยเขาควาย

             2.4 หนังกระเบน (Same) หนังกระเบนที่นำมาใช้จะมี 2 แบบ คือ 1.หนังกระเบนเทียม 2.หนังกระเบนแท้
       2.4.1 หนังกระเบนเทียม หนังกระเบนลักษณะนี้จะทำมาจากพลาสติกและจะถูกนำมาใช้ในกลุ่มดาบราคาถูกทั่ว ไป จุดสังเกตของหนังกระเบนชนิดนี้คือเมื่อกดลงไปจะมีลักษณะนิ่ม



         2.4.2 หนังกระเบนแท้ หนังกระเบนนี้จะทำมาจากส่วนหลังของปลากระเบนซึ่งจะมีลักษณะสีขาวขุ่นและแข็ง โดยหนังกระเบนที่นำมาใช้จะมี2 ส่วนคือ 1. ใช้หนังปลากระเบนส่วนขอบหรือตัวเล็ก จะสังเกตได้จากปุ่มจะมีลักษณะเล็กและละเอียด 2. ใช้หนังกระเบนส่วนตรงกลางหรือตัวใหญ่ จุดสังเกตคือปุ่มจะมีลักษณะที่ใหญ่และห่าง ส่วนปุ่มมุกกลางหลังหนังกระเบนทั้ง 2 แบบจะมีปุ่มมุกเหมือนกันจะแตกต่างกันแค่ขนาดเท่านั้น

    

          ขนาดของปุ่มบนตัวปลากระเบนจะไล่ขนาดและความละเอียดจากตรงกลางไปหาขอบ




           ทั้งหมดที่กล่าวมาจะเป็นส่วนประกอบที่ส่งผลต่อราคาของดาบแต่ละเล่ม  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับท่านทีสนใจศึกษา เกี่ยวกับดาบซามูไร และทำให้ทราบถึงจุดที่ทำให้ดาบแต่ละเล่มมีราคาที่ต่างกัน




ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก   KatanaShopsThailan